ความเป็นมาของวิทยาลัย

ความเป็นมาของวิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง

วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง (Lampang Inter-Tech College) มีชื่อย่อภาษาอังกฤษคือ "LIT" ได้รับอนุญาตให้จัดการศึกษาระดับปริญญาตรี จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 เพื่อเป็นการพัฒนาและขยายฐานการศึกษาในระดับปริญญาตรี และเป็นการสนองตอบต่อนโยบายการจัดการศึกษาของชาติ

วัตถุประสงค์ของวิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง

  1. เพื่อจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี และผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ใฝ่รู้ มีทักษะฝีมือในการทำงาน มีทักษะด้านภาษา ทักษะชีวิตและสังคม และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการมีคุณธรรมและ จริยธรรม

  2. เพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ ทั้งในด้านการเรียนการสอน และพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการพัฒนาท้องถิ่น สังคมและประเทศ

  3. เพื่อให้บริการวิชาการแก่ชุมชน โดยเฉพาะในสาขาวิชาที่วิทยาลัยมีความชำนาญในรูปแบบที่หลากหลาย โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นสำคัญ

  4. เพื่อทำนุบำรุงและเผยแพร่ อนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปะและวัฒนธรรมไทยตลอดจนศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และสร้างความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมนานาชาติ

สัญลักษณ์ประจำวิทยาลัย คือ เครื่องหมายรูปเมาส์ (Mouse) คอมพิวเตอร์ โดยต้องการเน้นให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของการเรียนรู้จากฐานการคิดแบบ IT และมีความเป็นสากล หมายถึง การเปิดกระบวนการเรียนรู้ไปสู่โลกกว้าง ที่เริ่มต้นจากระบบ IT

ช่วงเวลาการพัฒนาวิทยาลัยที่สำคัญ

วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปางได้เริ่มเปิดดำเนินการเรียนการสอนหลักสูตร 4 ปี และหลักสูตรต่อเนื่องในปีการศึกษา 2547 โดยได้เปิดการเรียนการสอน จำนวน 2 คณะ คือ คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และสาขาวิชาการตลาด และคณะบัญชี โดยมีประวัติการพัฒนาสถานศึกษาและหลักสูตร ดังนี้

  • ปีการศึกษา 2548 คณะบริหารธุรกิจ เปิดการเรียนการสอนสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ หลักสูตร 4 ปี และหลักสูตรต่อเนื่อง และวิทยาลัยได้ดำเนินการจัดตั้ง ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน

  • ปีการศึกษา 2549 วิทยาลัยขยายฐานการศึกษาด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์เพิ่มขึ้น จึงเปิดดำเนินการเรียนการสอนหลักสูตร 4 ปี ในคณะศิลปศาสตร์ จำนวน 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการบริการ และสาขาวิชาภาษาไทย (สำหรับนักศึกษาต่างชาติ)

  • ปีการศึกษา 2551 วิทยาลัยเปิดดำเนินการเรียนการสอนคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มสาขางาน คือ สาขางานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขางานเทคโนโลยีการผลิต สาขางานเทคโนโลยียานยนต์ สาขางานเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และเปิดดำเนินการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประยุกต์ใช้ภาษาจีน รวมถึงจัดการเรียนการสอนนอกสถานที่ตั้ง ณ ศูนย์กรุงเทพมหานคร

  • ปีการศึกษา 2552 วิทยาลัยจัดตั้งโครงการสหกิจศึกษาและศูนย์วิจัยและพัฒนาขึ้น เพื่อผลักดันการดำเนินงานด้านงานวิจัย และการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงของนักศึกษาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

  • ปีการศึกษา 2553 วิทยาลัยเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรใหม่ 3 หลักสูตร ได้แก่ ระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) และหลักสูตรอนุปริญญาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร และมีการปรับปรุงหลักสูตรตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552

  • ปีการศึกษา 2554 วิทยาลัยดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 จำนวน 3 หลักสูตร ดังนี้ หลักสูตรศิลปศาสตร์ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ และวิทยาลัยฯยังดำเนินการยุติการรับนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประยุกต์ใช้ภาษาจีน และปิดหลักสูตรอนุปริญญาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการท่องเที่ยว

  • ปีการศึกษา 2555 ปิดหลักสูตรบัญชีบัณฑิต (ต่อเนื่อง) และหลักสูตรบริหารธุรกิจสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (ต่อเนื่อง) เนื่องจากมีนักศึกษาสำเร็จครบตามหลักสูตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

  • ปีการศึกษา 2556 วิทยาลัยฯได้จัดการศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) ที่มุ่งเน้นผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรอบรู้ในหลักวิชาการบริหารจัดการระดับสูง มีวิสัยทัศน์และแนวคิดการประกอบการธุรกิจอาชีพที่ก้าวไกลพร้อมด้วยทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน หรือภาษาอื่นๆ ของประเทศในประชาคมอาเซียน ให้สามารถพร้อมใช้ติดต่อ สื่อสารประสานงานในแวดวงธุรกิจการค้าและการพัฒนาสังคมอย่างไร้พรมแดน เพื่อให้ก้าวไปสู่การเป็นผู้นำ ผู้บริหาร ผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ หรือนักพัฒนาที่มีความสามารถ มีความทันสมัยเป็นสากล สามารถนำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญกว้างไกลทั้งในระดับประชาคมอาเซียน และระดับนานาชาติได้เป็นอย่างดี

  • ปีการศึกษา 2557 วิทยาลัยดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร ดังนี้ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาระบบสารสนเทศ และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มีแขนงวิชาเอกประกอบด้วย 2 แขนงวิชา คือแขนงวิชาการตลาด และแขนงวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นการปรับปรุงจากหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด และหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากร

  • ปีการศึกษา 2558 วิทยาลัยดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร ดังนี้ หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศและหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA)

  • ปีการศึกษา 2559 วิทยาลัยมีการปรับปรุงโครงสร้างการดำเนินงานของคณะวิชาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ แบ่งเป็น

    • คณะพาณิชยศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ ประกอบด้วย 6 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจ หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาการระบบสารสนเทศ หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

    • คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

ตลอดระยะเวลาที่ก่อตั้งวิทยาลัยแห่งนี้ ผู้บริหารมีความมุ่งมั่นและแนวทางที่จะดำเนินงานที่เด่นชัด ซึ่งจะพัฒนาในปีต่อไปเพื่อพัฒนาระบบการบริหารงาน การประสานงาน การกำกับดูแล การติดตามผลการปฏิบัติงานตามแผนงานและการจัดการทั่วไป ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานเดียวกัน ส่งผลให้เกิดผลงานตามเจตนารมณ์ของแผนงาน รวมถึงให้มีความสอดคล้องกับโครงสร้างของภารกิจ

วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง

ใช้เครื่องหมายเป็นรูปเมาส์คอมพิวเตอร์สีฟ้า ล้อมรอบด้วยเส้นรอบวงสีขาว และมีชื่อวิทยาลัยเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษอยู่ใต้รูปเมาส์คอมพิวเตอร์ โดยต้องการเน้นให้เห็นถึง เอกลักษณ์ของการเรียนรู้จากฐานการคิดแบบ IT และมีความเป็นสากล หมายถึง การเปิดกระบวนการเรียนรู้ไปสู่โลกกว้าง ที่เริ่มต้นจากระบบ IT และ ใช้สีน้ำเงิน เป็นสีประจำวิทยาลัย มีความหมายถึง สีแห่งความเป็นผู้นำเป็นผู้ประสบความสำเร็จ

สีประจำวิทยาลัย

  • สีน้าเงิน เป็นสีประจำวิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง ซึ่งหมายถึง ความเป็นผู้นำ เป็นผู้ประสบความสำเร็จ

  • สีฟ้าสด สีประจำคณะบัญชี

  • สีเหลืองสด สีประจำคณะบริหารธุรกิจ

  • สีขาว สีประจำคณะศิลปศาสตร์

  • สีแดงเลือดหมู สีประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการให้บริการ

    คุกกี้เพื่อการให้บริการจะช่วยให้ท่านสามารถใช้บริการ และ/หรือเข้าถึงฟังก์ชันต่างๆ ได้ เช่น คุกกี้ที่จัดการเรื่องการเข้าสู่ระบบ (Login) และสถานะการเข้าสู่ระบบของท่าน

บันทึกการตั้งค่า